วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ขนมไทย l


 สมัยอยุธยา
เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่
เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ
ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"

"มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น
มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)"
ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ไม่นานนัก

ชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลอง
พระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทอง
พระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงาน
อยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้

ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิด
ให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย" 
ารประกอบขนมหวานไทย มีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของขนมนั้น ๆ ว่าจะประกอบด้วยวิธี การ แบบใดให้ขนมสำเร็จออกมาแล้วน่ารับประทาน ตัวอย่างวิธีการประกอบ
ขนมหวานไทย คือ
 1. ต้ม หมายถึง การนำอาหารใส่หม้อ พร้อมกับน้ำหรือกะทิ ตั้งไฟให้เดือดจนสุกตามความ ต้องการ การทำขนมที่ต้องต้ม และเป็นขนมที่ใช้ใบตองห่อ ต้องห่อให้สนิท ใบตองต้อง
ไม่แตก เช่น ข้าวต้ม น้ำวุ้น แกงบวด ถั่วเขียวน้ำตาล ฯลฯ

2. หุง หมายถึง การทำอาหารที่ให้สุก โดยนำของที่ต้องการหุงใส่ลงในหม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟ จนน้ไแห้ง จึงลดไฟให้อ่อนลง แล้วดงให้แห้งสนิท

3. นึ่ง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยใช้ไอน้ำ โดยใส่ขนมลงในลังถึง ปิดฝตั้งไฟให้น้ำเดือด นึ่งจนขนมสุก ส่วนมากจะเป็นขนมที่มีไข่เป็นส่วนผสม เช่น ขนมสาลี ขนมทราย
ขนมชั้น ขนมสอดไส้ ฯลฯ การใช้เวลานึ่ง และความร้อนต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของขนมนั้นๆ

4. ทอด หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนทั่วแล้วจึงใส่ขนมที่จะทอดลงไป ขนมบางชนิดใช้น้ำมันมาก เรียนกว่า ทอดน้ำมันลอย
ใช้ไฟปานกลางสม่ำเสมอ บางชนิดใช้น้ำมันน้อย ใช้กระทะก้นตื้น ดังนั้นการทอดจึงใช้กระทะตามลักษณะของขนมแต่ละชนิด การทอดถ้าใช้ไฟอ่อนมาก ขนมจะอมน้ำมัน
จึงควรจะระมัดระวังด้วย ขนมที่ทอดเช่น ขนมฝักบัว ขนมทองพลุ ข้าวเม่าทอด ฯลฯ

5. จี่ คือ การทำขนมให้สุกในกระทะโดยใช้น้ำมันแต่น้อย ใช้น้ำมันทากระทะพอลื่น กระทะที่ใช้จะเป็นกระทะเหล็กหล่อแบน กว้าง เนื้อเหล็กหนา การจี่ใช้ไฟอ่อน ตั้งกระทะ
ให้ความร้อนรุมอยู่ตลอดเวลา และกลับขนมให้เหลืองเสมอกันทั้งสองด้าน เช่น ขนมแป้งจี่

6. เจียว คือ การทำให้เครื่องปรุงเหลืองกรอบโดยน้ำมัน เช่น หอมเจียว การเจียวหอมเพื่อโรยหน้าขนม หัวหอมควรซอยชิ้นให้เสมอกัน เวลาเจียวจะสุกพร้อมกัน มีสีเหลืองสวย
น้ำมันที่เจียวไม่ควรมากเกินไป กะพอใส่ของลงไปแล้วพอดี ใช้ตะหลิวกลับไปกลับมาจนกรอบเหลืองทั่วกัน จะมน้ำมันเหลือติดก้นกระทะเล็กน้อย ใช้เป็นส่วนผสมของขนมได้

7. ปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุกโดยการวางขนมที่ต้องการปิ้งไว้เหนือไฟ มีตะแกรงรองรับ ไฟไม่ต้องแรงนัก กลับไปกลับมาจนขนมสุก อาหารบางชนิดใช้ใบตองห่อ แล้วปิ้ง
จนใบตองที่ห่อเกรียมหรือกอรบ เช่น ขนมจาก ข้าวเหนียวปิ้ง ก่อนที่จะปิ้งใช้ขี้เถ้ากลบไว้ เพื่อให้ไฟร้อนสม่ำเสมอกัน

8. ผิงและอบ ขนมที่ใช้ผิงมีหลายชนิด จะใช้ผิงด้วยไฟบนและไฟล่าง ไฟจะต้องมีลักษณะอ่อนเสมอกัน ปัจจุบันใช้เตาอบแทนการผิง เช่น ขยมหม้อแกง ขนมสาลี่กรอบ
ขนมผิง ฯลฯ
ขนมไทยผูกพันแน่นแฟ้นกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน และทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ จนมาถึงปัจจุบันขนมไทยเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตของคนไทย แม้การ
ขายขนมจะไม่มีการทำอย่างแพร่หลายในสมัยก่อน คนไทยก็รู้จักที่จะทำขนมกินกันเอง เนื่องจากวิถีชีวิตคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตร สังคมชนบทที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่
มากมาย อาทิ มะพร้าว ตาล ที่ปลูกอยู่ในผืนดินของตนเอง ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวเม่า ข้าวตอก ฯลฯ ถ้าอยากได้กะทิก็ไป
เก็บมะพร้าวมาขูดแล้วครั้นเอาน้ำ ถ้าอยากได้แป้ง ข้าวก็มีพร้อมเพราะปลูกเอง โม่หรือหินโม่แป้งก็มีอยู่ทุกบ้าน เอามาโม่เข้าไม่นานก็จะได้แป้งสำหรับทำขนมอร่อย ๆ กินกันเอง
ในครอบครัว ถ้าทำจำนวนมากก็นำไปแบ่งปันให้เพื่อนบ้านได้ลิ้มรสด้วยก็ยังไหว

ขนมครกกับขนมกล้วยดูจะเป็นขนมยอดนิยมที่สุด เพราะส่วนผสมหรือเครื่องปรุงนั้นหาง่าย ตลอดจนกรรมวิธีในการทำก็ง่ายแสนง่ายทั้งเตาขนมครกก็มีขายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
แล้ว ส่วนกล้วยและมะพร้าวก็มีกินกันอย่างเหลือเฟือหากไม่นำมาทำขนมกินก็ต้องเหลือทิ้งไปเปล่า ๆ ขนมน้ำเป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมทำกินกัน ที่ทำง่ายและนิยมกินที่
สุดเห็นจะได้แก่ขนมพวกแกงบวดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฟักทองบวด มันบวด กล้วยบวดชี ถัดจากขนมน้ำก็ยังมีการถนอมอาหารเก็บไว้กินนาน ๆ ประเภทขนมเชื่อมและขนมกวน
รวมไปถึงผลไม้ดองและผลไม้แช่อิ่มอีกด้วย

ภายหลังเมื่อมีตลาดก็มีขนมหลายชนิดขาย วิธีการนำมาขายก็มีตั้งแต่วางขายอยู่กับที่ กระเดียดกระจาด แบกกระบุง และหาบสาแหรกเร่ขาย คนไทยก็มีทางเลือกมากขึ้นเพราะ
มีขนมให้กินหลายชนิดขึ้น พ่อค้าแม่ขายต่างพัฒนาฝีมือการปรุงรสชาติขนมของตนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นที่ต้องการของลูกค้ามากขึ้น

ตลาดขนมไทยที่ขึ้นชื่อลือชานั้นมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน เริ่มแรกนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่เจ้าในแต่ละแห่ง แต่ต่อมาก็เพิ่มขึ้น ๆ จนกลายเป็นย่านขนมหวานไปเลย ซึ่งย่านค้าขายขนมไทย
ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็ได้แก่ขนมไทยเมืองเพชรบุรี หมู่บ้านขนมไทยจังหวัดนนทบุรี ตลาดหนองมนของจังหวัดชลบุรี ฯลฯ นอกจากนี้ตามตลาดทุกแห่งทั่วประเทศก็มี
ขนมไทยวางขายและเร่ขายกันดาษดื่น

คนไทยที่กินขนมไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นคนในสังคมชนบท แต่ใช่ว่าคนเมืองจะไม่กินเอาเสียเลย เพราะนอกจากขนมฝรั่งอย่าง โดนัท เค้ก คุกกี้ พุดดิ้ง วาฟเฟิล คัสตาร์ด พาย ฯลฯ
แล้ว ขนมไทย ๆ อย่าง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น ขนมเบื้อง ขนมน้ำดอกไม้ ทองม้วน ก็ยังติดอันดับขนมยอดฮิตที่มีคนนิยมกินกันมากเช่นกัน

            สรุปได้ว่าขนมไทยมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการกินของไทยชนิดแยกกันไม่ออกมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ถึงแม้ภายหลังจะมีขนมของชาติตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากก็ตาม
และแม้ขนมไทยส่วนหนึ่งจะสูญหายไปจากความนิยมในสังคมไทย แต่ก็ยังมีขนมไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ยังสร้างสีสันด้วยรสชาติหอมหวานอยู่ในวัฒนธรรมไทยดังนั้นคงจะ
ไม่แปลกหรือเป็นการเกินเลยหากจะกล่าวเป็นสากลว่า “Thai desserts never died” หรือหากตราบใดที่วัฒนธรรมไทยยังคงอยู่ ขนมไทยก็จะยังคงฝังอยู่อย่างแนบแน่น
เช่นเคย 
นมหวานไทย หมายถึง อาหารชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นอาหารที่รับประทานตามหลังของคาว เช่น ในอาหารมื้อกลางวันมีก๋วยเตี๋ยวไก่เป็นของคาว ผู้รับประทาน
อาจจะรับประทานทับทิมกรอบเป็นของหวาน เป็นต้นเมื่อบริโภคอาหารมื้อสำคัญๆ เช่น มื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็นควรบริโภคทั้งของคาวและของหวาน สิ่งที่ใช้เป็นของหวาน
อาจเป็นขนมหรือผลไม้ก็ได้นอกจากจะรับประทานขนมหวานหลังของคาว เราอาจรับประทานขนมหรือขนมหวานในเวลาที่มิได้รับประทานอาหารคาว แต่จะรับประทานขนม
หรือขนมหวานเป็นของว่าง หรือรับประทานขนมหวานกับเครื่องดื่ม

ขนมหวานไทยจะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและฝึกฝนต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์และ
ความอดทน และความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ๆต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน  มีความประณีต ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธี
การทำ ขนมไทยสามารถจัดแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้ตามลักษณะของเครื่องปรุง ลักษณะกรรมวิธีในการทำ และลักษณะการหุงต้ม คือ
            1. ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ
            2. ประเภทนึ่ง เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ
            3. ขนมประเภทต้ม เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ
            4. ขนมประเภทกวน เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ
            5. ขนมประเภทอบและผิง เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมบ้าบิ้น ขนมหน้านวล ฯลฯ
            6. ขนมประเภททอด เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ
            7. ขนมประเภทปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ
            8. ขนมประเภทเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ
            9. ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ
            10. ขนมประเภทน้ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ
            11. ขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ
            12. ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ
            13. ขนมประเภทแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม สะท้อนแช่อิ่ม ฯ
การทำขนมหวานไทยให้น่ารับประทาน และสะดุดตาผู้บริโภค  สีของขนมสามารถดึงดูดใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดีการทำขนมหวานไทยใช้สีอ่อน ๆ จะทำให้ขนมสวย
ผู้ประกอบขนมหวานไทยควรใช้สีที่ได้จากธรรมชาติของพืชชนิดต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสีอาหารมากชนิดที่อาจมีอันตราย ต่อร่างกายของผู้บริโภค
  • ใบเตย ให้สีเขียวมีลักษณะใบยาวเรียว สีเขียวจัด มีกลิ่นหอม โคนใบมีสีขาวนวล ลักษณะเป็นกอ ใบแก่มีสีเขียวจัด ให้กลิ่นหอมมาก  ใบเตยมีสองชนิด คือ  เตยหอม และ
เตยไม่หอม การเลือกใช้นิยมใช้ใบเตยหอมที่มีกอใหญ่ มีใบโต ไม่มีแมลงเจาะ วิธีการคั้นน้ำใบเตย หั่นใบเตยเป็นฝอย แล้วโขลกให้ละเอียด ใส่น้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำเตย
ออกให้เข้มข้นที่สุด กรองด้วยผ้ากรอง พยายามอย่าให้กากใบเตยหล่นลงไปในน้ำที่กรองแล้ว

  • กาบมะพร้าว ให้สีดำใช้กาบมะพร้าวแก่เผาไฟให้ไหม้จนเป็นสีดำทั้งอันใส่น้ำคั้น กรองด้วยผ้ากรองเอากากออกให้หมด

  • ขมิ้น ให้สีเหลืองขมิ้นเป็นพืชล้มลุกมีหัวใต้ดินลักษณะเป็นแง่ง คล้ายขิง  สีเหลือง มีกลิ่นหอมใช้ผสมกับขนมที่ต้องการให้มีสีเหลือง วิธีการใช้ทุบขมิ้นให้แตก ห่อผ้าแล้ว
นำไปแช่กับน้ำให้ออกสี

  • ดอกอัญชัน ให้สีม่วงคราม เป็นพืชไม้เลื้อยมีดอกสีม่วงคราม ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ตรงปลายสีม่วงคราม ตรงกลางสีเขียว เวลาใช้ให้เลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นสีม่วง วิธีการ
ใช้ใส่น้ำเดือดเล็กน้อย  แช่ดอกอัญชัน สักครู่คั้นให้ออกสีคราม กรองเอากากออก หยดน้ำมะนาวลงไปสีจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง

  • ดอกดิน ให้สีดำ เป็นพืชชนิดหนึ่ง จะมีตอนหน้าฝน ดอกปนกับรากไม้ชนิดอื่นเช่น รากอ้อย รากหญ้าคา ดอกดินโผล่ออกจากดินมีสีม่วงเข้ม กลีบดอกรี ๆ ใช้ผสมกับแป้ง
ทำขนมดอกดิน

  • หญ้าฝรั่ง ให้สีเหลือง เป็นพืชชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายเกสรดอกไม้ตากแห้ง มีกลิ่นหอม เมื่อนำมาใช้ชงกับน้ำร้อนแล้วกรองเอากากออกใช้แต่น้ำ

  • ครั่ง จะได้สีแดง ใช้รังครั่งมาแช่น้ำ ถ้าต้องการสีแดงคล้ำ เติมสารส้มลงไปเล็กน้อย

  • กระเจี๊ยบ จะได้สีแดงเข้ม ใช้ส่วนที่เป็นกลีบหุ้มผลนำมาต้มกับน้ำ

  • เกสรดอกคำฝอย จะได้สีเหลือง ใช้แช่ในน้ำร้อน กรองเอาแต่น้ำ
ระโยชน์ของใยอาหารในขนมไทย
"ใยอาหาร" หรือ "Fiber" เป็นอาหารอีกหมู่หนึ่งที่ร่างกายมีความต้องการไม่น้อยไป กว่าอาหารหลักหมู่อื่น ใยอาหารนี้แท้ที่จริงแล้วคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ใช่
แป้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ พืช ผัก และผลไม้ที่รับประทานได้ แต่ไม่ถูกย่อยโดยน้ำย่อยในระบบย่อยอาหาร เมื่อผ่านลำไส้ใหญ่บางส่วนจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ ทำให้
กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไฮโดรเจน น้ำ และกรดไขมันสายสั้นๆ ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ด้วยเหตุนี้ ใยอาหารจึงมีผลช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งที่อาจปะปนมากับอาหาร ซึ่งร่างกายสามารถขับถ่ายมาพร้อมกับอุจจาระ ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเรสเตอรอล
ในเส้นเลือดได้และเพื่อสุขภาพที่ดีเราควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยอาหารในปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน ซึ่งในขนมไทยต่างมีใยอาหารประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้นกากใยอาหาร
ในผักและผลไม้ที่นำมาใช้ทำขนม อย่างเช่น กล้วยบวดชี บวดเผือก บวดฟักทอง ยังคงสภาพอยู่กากใยเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการขับถ่ายของร่างกายทีเดียว ในขณะที่
ขนมพันธุ์ใหม่ที่ในยุคนี้จะเป็นขนมที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหลายขั้นตอนมาก แป้งที่ใช้ทำขนมก็จะถูกฟอกขาว มีสารเคมีสังเคราะห์มากมายเข้าไปเป็นส่วนผสมทั้ง
ในแป้งและน้ำตาล ซึ่งจะย่อยสลายทันทีในปาก เกิดกรดทำให้ฟันผุได้ทันที และความที่อาหารมีกากใยน้อยลง โรคที่ตามมาอีก คือ อาการท้องผูก ปัจจุบันกลายเป็นปัญหา
ของเด็กอย่างยิ่ง บางบ้านถึงกับทะเลาะกันระหว่างแม่กับพ่อเรื่องการถ่ายของลูก

เบต้าแคโรทีน วิตามิน
เบต้าแคโรทีน (beta-Carotene) เป็นองค์ประกอบของสารสีส้มแดง สีเหลืองในพืช ผัก ผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามินเอ เพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีน
ไปเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งวิตามินเอนี้เป็นวิตามินชนิดไม่ละลายน้ำ มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การเจริญเติบโต เป็นสารต้านอนุมูลอิสระของไขมันบนผนังเซลล์ ทำให้ระบบ
ต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดี

แคลเซียม
เป็นธาตุอาหารที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน ช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อและการเต้นของหัวใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์


 

ฟรี! รูปภาพไม่จำกัดที่ slide.com Host

ขนมไทย


ประวัติ ความเป็นมาของขนมไทย

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
      
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทองเพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่อง ฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้ เป็นเอก เป็นต้น

การ แบ่งประเภทของขนมไทย


แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น  และผลไม้กวนต่างๆ 
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว 
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่  กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด 
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ ที่ ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
  • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก
 
          
 
 

วัตถุ ดิบในการปรุงขนมไทย

ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้าว และแป้ง

การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสาทร ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไปทำข้าวตู ขนมไข่มดได้อีก ส่วนแป้งที่ใช้ทำขนมไทยส่วนใหญ่ได้มาจากข้าวคือแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ในสมัยก่อนใช้แป้งสดคือแป้งที่ได้จากการนำเม็ดข้าวแช่น้ำแล้วโม่ให้ละเอียด ในปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน นอกจากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่ แป้งถ่ว แป้งท้าวยายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ
                 

มะพร้าว และกะทิ

มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่ มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ 
  • มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
  • มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย
  • มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย

น้ำตาล

แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใชทำขนมคือน้ำคาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง
      

ไข่

ได้รับ อิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม 

ถั่ว และงา

ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบไดตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์ ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้
  • ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้างและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
  • ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
  • ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
  • งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา     
           

กล้วย

กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น
         

สี

สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ 
  • สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
  • สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
  • สีเหลืองจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น
  • สีแดงจากครั่ง
  • สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง

กลิ่น หอม

กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ 
  • กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
  • กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
  • กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
  • กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม
  •  
     สูตรขนม
    ขนมดอกลำดวน ส่วนประกอบ - แป้งสาลีร่อนแล้วตวง 1 ถ้วย - น้ำตาลป่นหรือน้ำตาลไอซิ่ง 1/ 2 ถ้วย - น้ำมันหมูเจียวใหม่ ๆ 1/ 4 ถ้วย (ใช้น้ำมันพืชแทนได้)
    วิธีทำ 1. ผสมแป้งสาลี น้ำตาล เข้าด้วยกัน ค่อย ๆ ใส่น้ำมันลงไปทีละน้อย ๆ ผสมให้เข้ากันดี จากนั้นปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/ 4 นิ้ว แล้วผ่าเป็น 4 ส่วน ทำจนหมด 2. นำแป้ง 3 ชิ้นวางให้ปลายชนกัน วางใสถาดอบที่ไม่ทาไขมัน ที่เหลืออีก 1 ชิ้น ให้ปั้นเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ วางตรงกลางดอกเป็นเกสร ใช้ปลายมีดทำเป็นแฉกเล็ก ๆ 3. นำเข้าอบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮต์ จนสุกเป็นสีขาวนวล นำออกจากเตาอบ ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วแซะออกจากถาดวางบนตะแกรง ปล่อยให้เย็นสนิท แล้วนำไปอบด้วยควันเทียนให้หอม เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
    เทคนิค ในการทำขนมดอกลำดวนหรือขนมกลีบลำดวนนั้น เริ่มกันตั้งแต่การผสมแป้งเลย ถ้าอยากจะให้ขนมมีความหอมอร่อย ควรจะใช้น้ำมันหมูเจียวใหม่ ๆ มากกว่าใช้น้ำมันพืช และเวลาผสมแป้งสาลี น้ำตาล และน้ำมันนั้น ควรผสมพอแต่ให้แป้งจับตัวเป็นก้อน ไม่ต้องนวด เพราะถ้านวดแป้งแล้วขนมจะแข็ง ไม่กรอบร่วน เมื่อผสมแป้งเสร็จแล้ว เวลาปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม ก็ต้องปั้นให้แน่น ถ้าปั้นไม่แน่นเวลาผ่าแล้วจะไม่สวย นอกจากนี้เมื่ออบขนมเสร็จแล้ว จะแซะขนมออกจากถาด ควรจะทำเมื่อขนมเย็นแล้ว เพราะถ้าแซะขนมในขณะที่ขนมยังร้อน ๆ อยู่ กลีบขนมจะแตกออกจากกัน ขนมดอกลำดวนที่ได้ ควรจะมีสีออกขาวนวล ๆ ไม่ใช่สีเหลือง หรือสีน้ำตาล
    วุ้นกรอบ
    ส่วนผสม
    ผงวุ้น
    1 1/2 ช้อนโต๊ะ
    แป้งเท้ายายม่อม
    2 ช้อนโต๊ะ
    น้ำลอยดอกมะลิ
    2 ถ้วยตวง
    น้ำตาลทรายขาว
    2 ถ้วยตวง
    วิธีทำ 1. นำวุ้นกับน้ำใส่หม้อ ตั้งไฟกลางให้วุ้นละลาย ใส่น้ำตาลทรายขาว กรองด้วยผ้าขาวบาง ยกขึ้นตั้งไฟ 2. เคี่ยวต่อให้เหนียวนิดหน่อย (นำแป้งเท้ายายม่อมละลายน้ำเตรียมไว้) เทส่วนผสมให้เข้ากับวุ้นที่เคี่ยว 3. เทวุ้นลงในถาด หนาประมาณ 1/2 นิ้ว ทิ้งไว้ให้แข็งตัว ตัดด้วยพิมพ์รูปต่างๆหรือตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้วยมีดตัดวุ้น 4. นำวุ้นที่ได้ไปตากแดดจัดๆประมาณ 2-3 วัน จนแห้งสนิท หมายเหตุ ใส่แป้งเท้ายายม่อมเพราะทำให้เนื้อวุ้นไม่แข็งกระด้าง
     
    ถั่วแปบ
    ส่วนผสม
    แป้งข้าวเหนียวสด
    (ถ้าเป็นแป้งข้าวเหนียวชนิดแห้ง ใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ผสมน้ำ 1/2 ถ้วยตวง แล้วนวดให้เข้ากันเป็นก้อนนุ่ม)
    1 ถ้วยตวง
    น้ำตาลทราย
    2 ช้อนโต๊ะ
    เกลือป่น
    1/4 ช้อนชา
    งาขาวคั่วพอเหลือง
    2 ช้อนโต๊ะ
    ถั่วเขียวแช่น้ำลอกเปลือกนึ่งให้สุก
    1/2ถ้วยตวง
    มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย
    1 ถ้วยตวง
    สีผสมอาหาร

    ใบเตย

    วิธีทำ 1. นึ่งถั่วเขียวให้สุกเปื่อย เคล้ากับเกลือป่นพอมีรสเค็มเล็กน้อย (เกลือประมาณ 1/4 ช้อนชา) 2. ผสมน้ำตาลทราย เกลือป่น และงาคั่วพอเข้ากัน 3. ขูดมะพร้าวเป็นเส้นเล็กๆ เคล้าเกลือเล็กน้อย ถ้าต้องการเก็บขนมไว้นานควรนึ่งมะพร้าวประมาณ 5 นาที 4. ค่อยๆเติมน้ำลงทีละ 2 ช้อนโต๊ะ ลงในแป้งสด นวดให้นุ่มพอปั้นได้ (แป้ง 1 ถ้วยตวง ใช้น้ำประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แต่ขึ้นกับว่าแป้งมากหรือน้อย) 5. แบ่งแป้งออกเป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน หยอดสีตามชอบ 1-2 หยด นวดให้เข้ากัน ควรใช้สีอ่อนๆ เช่น เหลือง ชมพู เขียว(ใช้ใบเตย) จะได้แป้ง 4 สี รวมทั้งสีขาวด้วย 6. ตั้งน้ำในหม้อ ใส่ใบเตยขยำพอช้ำ ตัดเป็นท่อนสั้นปิดฝาไว้ พอน้ำเดือดสักพักให้มีกลิ่นหอมช้อนใบเตยขึ้น 7. แบ่งแป้งเป็นก้อนกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว บีบให้แบน ใส่ลงต้มในมห้อน้ำพอแป้งสุกจะลอยขึ้น ใช้ทัพพีมีรูช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำ ใส่ในจานที่มีมะพร้าวขูดที่เตรียมไว้ 8. พอแป้งเย็น แผ่แป้งออกให้บาง ตักถั่วใส่ตรงกลาง แล้วพับครึ่ง เม้มริมแป้งให้ติด คลุกมะพร้าวอีกครั้งใส่จานไว้ ทำจนหมดแป้ง เวลารับประทานโรยน้ำตาล เกลือ และงาคั่ว
     
    สาคูเปียกถั่วดำ สาคู เปียก ขนมไทยแบบง่ายๆ ที่มีรสหวานนุ่มเนื้อสาคูเปียกเม็ดกลมใสเมื่อรับประทาน นำสาคูเปียกมาผสมกับถั่วดำแกงบวดเนื้อนุ่มรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าว ราดด้วยหัวกะทิรสเค็มมันหอมกลิ่นกะทิสดใหม่ เลือกใช้สาคูเม็ดเล็ก ถั่วดำเลือกแบบเม็ดอ้วน เคล็ดลับเปียกสาคู ต้มสาคูพอสุกเป็นตากบ (ยังมีไตแป้งขาวขุ่นด้านใน) ใส่น้ำตาล ต้มจนสุกใสดี ถ้าใส่น้ำตาลตอนแป้งยังไม่สุก สาคูก็จะไม่สุกต่ออีกเลย ส่วนถั่วดำแกงบวดต้องต้มถั่วดำด้วยไฟกลางจนสุกนุ่ม ถ้าต้มถั่วด้วยไฟแรง เนื้อถั่วจะแข็งกระด้างไม่นุ่ม
    ส่วนผสม (สำหรับ 5-6 คนรับประทาน)
    สาคูเม็ดเล็ก
    1 ถ้วย
    น้ำ
    2 1/2 ถ้วย
    น้ำตาลทราย
    1/2 ถ้วย
    เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเส้น
    1 ถ้วย
    เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเส้นสำหรับตกแต่ง

    ถั่วดำแกงบวด

    ถั่วดำต้มสุก
    2 ถ้วย
    กะทิ
    2 ถ้วย
    เกลือสมุทร
    1 ช้อนชา
    น้ำตาลปี๊บ (น้ำตาลมะพร้าว)
    3/4 ถ้วย
    หัวกะทิ

    หัวกะทิ
    3/4 ถ้วย
    เกลือสมุทร
    1/2 ช้อนชา
    แป้งข้าวเจ้า
    1/2 ช้อนโต๊ะ
    วิธีทำ 1. ล้างสาคู เทใส่กระชอนพักให้สะเด็ดน้ำ 2. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลางให้เดือด ใส่สาคู ต้มพอสุกเป็นตากบ (ยังมีไตแป้งขาวขุ่นอยู่ด้านใน) 3. ใส่น้ำตาล คนให้ทั่วและน้ำตาลละลาย ต้มต่อจนเม็ดสาคูใส ปิดไฟ เทใส่ชาม ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อน คนพอทั่ว 4. ทำถั่วแดงแกงบวดโดยใส่ถั่วดำต้มสุก กะทิ เกลือและน้ำตาลปี๊บ ลงในหม้ออีกใบ คนให้ทั่ว ยกขึ้นตั้งไฟกลาง พอเดือดทั่วยกลง 5. ทำหัวกะทิโดยผสมหัวกะทิกับเกลือลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟอ่อนพอเดือดจึงละลายแป้งข้าวเจากับน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ เทใส่ในหม้อ คนให้ทั่ว เคี่ยวพอกะทิมีลักษณะข้น ปิดไฟ เทใส่ถ้วย พักไว้ 6. ตักสาคูใส่แก้ว ตักถั่วดำแกงบวดใส่ราดด้วยกะทิ ตกแต่งด้วยเนื้อมะพร้าวอ่อน พร้อมเสิร์ฟ
    ขนมบัวลอยแก้ว บัวลอยแก้ว คำว่า "แก้ว" ก็หมายถึง แป้งต้องใสเป็นแก้ว ขนม บัวลอยแก้วใช้แป้งมันเทศ ก่อนจะทำขนมนี้กันขออธิบายแป้งมันของขนมไทยเสียก่อนว่า แป้งมันของขนมไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ แป้งมันสำปะหลัง หมายถึงแป้งมันที่ทำมาจากมันสำปะหลัง ชนิดที่ 2 เรียกแป้งมันเหมือนกัน แต่เป็นแป้งมันเทศ แป้งมันเทศคือ แป้งที่ได้จากมันเทศ ลักษณะแป้งทั้ง 2 ชนิดนี้ ต่างกันที่สี แป้งมันสำปะหลังจะมีสีขาวกว่าแป้งมันเทศ และเมื่อนำแป้งมันสำปะหลังนวดกับน้ำร้อนแล้ว แป้งมันสำปะหลังจะเหนียวเป็นก้อน แต่สำหรับแป้งมันเทศเมื่อนวดกับน้ำร้อนแล้วแป้งจะเหนียวนุ่มไม่เป็นก้อน เนื้อแป้งเนียน
    ส่วนผสม
    แป้งมันสำปะหลัง
    1 ถ้วยตวง
    น้ำร้อน
    1/4 - 1/2 ถ้วยตวง
    น้ำลอยดอกมะลิ
    2 ถ้วยตวง
    น้ำตาลทราย
    3/4 ถ้วยตวง
    แป้งมันสำปะหลังหรือแป้งท้าวยายม่อม
    5 - 6 ช้อนโต๊ะ
    น้ำเปล่าสำหรับละลายแป้ง
    5 - 6 ช้อนโต๊ะ
    หัวกะทิ
    1 ถ้วยตวง
    เกลือป่น
    1 ช้อนชา
    มะพร้าวอ่อนขูดเฉพาะเนื้อ
    1/2 - 1 ถ้วยตวง
    วิธีทำแป้ง  1. ตวงแป้งใส่ภาชนะ ทำบ่อตรงกลางไว้  2. ใส่น้ำร้อนลงไป คนให้แป้งกับน้ำร้อนเข้ากัน พอแป้งอุ่นนวดให้เป็นเนื้อเดียวและให้แป้งเนียน คลึงแป้งเป็นเส้นยาวๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนสั้นๆยาว 1 เซนติเมตร คลุกกับแป้งมันสำปะหลัง พักไว้ประมาณ 30 นาที  3. ต้มน้ำเปล่าในหม้อให้เดือด นำแป้งในข้อที่ 2 ใส่ลงไป ลดไฟให้อ่อนลง เมื่อแป้งลอยขึ้นมา ตักขึ้นใส่น้ำเย็นไว้ เทใส่กระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ  4. ผสมน้ำลอยดอกมะลิ (ถ้าไม่มีน้ำลอยดอกมะลิให้ใส่น้ำธรรมดาผสมกลิ่นดอกมะลิ) กับน้ำตาลทรายและแป้งมันเทศหรือแป้งท้าวยายม่อม (แป้งท้าวยายม่อมได้จากพืชชนิดหนึ่งเป็นพืชส่วนหัว พืชชนิดนั้นชื่อต้นเท้ายายม่อม) โดยต้องละลายน้ำเสียก่อน ผสมให้เข้ากัน ตั้งไฟให้เดือด ใช้ไฟกลางค่อนข้างอ่อน ต้องคนตลอดมิฉะนั้นแป้งจะเป็นเม็ด คนไปเรื่อยๆจนกว่าแป้งจะสุก ลักษณะแป้งจะใส เมื่อแป้งสุกแล้วจึงใส่แป้งในข้อที่ 3 ลงไป คนให้เข้ากันและเดือดอีกครั้ง ก่อนจะยกลง ใส่มะพร้าวอ่อนคนให้เข้ากัน ยกลง  5. ผสมหัวกะทิกับเกลือป่น คนให้เข้ากัน ตั้งไฟพอควันขึ้นหรือพอเดือดนิดหน่อยยกลง กรองด้วยกระชอนเพื่อให้กะทิเนื้อเนียน  6. เมื่อจะเสิร์ฟหรือรับประทานจึงตักขนมแล้วราดด้วยกะทิ
    ซ่าหริ่ม ส่วนผสมตัวซ่าหริ่ม (สีขาว) แป้งถั่วเขียว        1/2 ถ้วยตวง น้ำลอยดอกมะลิ       3 ถ้วยตวง วิธีทำตัวซ่าหริ่ม 1. ผสมแป้งถั่วเขียวกับน้ำ คนจนแป้งละลาย กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่กระทะทองเหลือง นำไปตั้งไฟกวนจนแป้งสุกและใส ยกลงจากเตา 2. ตักแป้งที่กวนแล้ว ใส่ที่กดซ่าหริ่ม ค่อยๆกดลงในถังน้ำเย็นแล้วเปลี่ยนน้ำประมาณ 2-3 ครั้ง เทใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยผ้าขาวบางแยกเป็นสีๆ หมายเหตุ ถ้าทำสีอื่น เช่น สีชมพู ให้ใส่สีผสมลงในแป้ง หรือสีเขียวใช้น้ำใบเตยแทนน้ำลอยดอกมะลิ ส่วนผสมน้ำกะทิ น้ำตาลทราย    3 ถ้วยตวง น้ำลอยดอกมะลิ    2 ถ้วยตวง กะทิ       1 ถ้วยตวง วิธีทำ ผสม น้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิ นำไปตั้งไฟคนจนน้ำตาลทรายละลาย นำกลับไปตั้งไฟใหม่จนเดือดทั่วและน้ำเชื่อมข้น ใส่กะทิลงไปคอยคนอย่าให้กะทิเป็นลูก พอเดือดทั่ว ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานตักขนมใส่ถ้วย ใส่น้ำกะทิและน้ำแข็งทุบละเอียด
    ขนมน้ำดอกไม้ 
    ขนม ไทยอีกชนิดที่มีความหอมหวานในตัว และมีเสน่ห์ของขนมที่ลง ตัว   อีกทั้งยังทำได้ง่าย ไม่มีเครื่องปรุง หรือขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไรนัก   มี ความหอมอร่อยที่ได้จากน้ำลอยดอกมะลิ   ความนุ่มนวลของตัวแป้งที่ทำ ให้ขนมชนิดนี้ บ่งบอกถึงความอ่อนโยนของคนไทย ที่แสดงออกมาในตัว ขนม   ปัจจุบันยังหาซื้อทานได้ทั่วไป เพียงแต่ความหอมของน้ำดอกมะลิ อาจจะไม่ค่อยได้กลิ่น เนื่องจากแม่ค้าบางรายไม่ประณีตนัก ทำให้อาจจะ ขาดเสน่ห์ไปบ้าง ก็คงต้องเลือกหาร้านที่ถูกใจเสียหน่อย และมั่นใจว่ามี ความประณีตอย่างแท้จริงในการทำขนมไทยออกวางขาย
    ส่วนผสม

    น้ำลอยดอกมะลิ 
    แป้งข้าวเจ้า
    แป้งมันสำปะหลัง 
    น้ำตาลทราย 
    สีผสมอาหาร 2-3 สี
    1 1/2    ถ้วยตวง
    1 1/2   ถ้วยตวง
    1 1/2   ถ้วยตวง
    ถ้วยตวง
    วิธีทำ 1. เอาแป้งข้าวเจ้ากับแป้งมันสำปะหลังมาผสมเข้าด้วยกัน แบ่งแป้งเพื่อใส่สีผสมอาหาร แล้วนวดจนให้สีกลืนกันออกเป็นสีอ่อนๆ โดยน้ำลอยดอกมะลิรินใส่ลงไปทีละน้อย 2. นวดแป้งจนแป้งเข้ากันดีเป็นเนื้อแป้งเนียน  3. จากนั้น เอาน้ำตาลต้มกับน้ำสะอาด 1 ถ้วยตวง พอน้ำตาล ละลายกลายเป็นน้ำเชื่อม ก่อนนำมาใช้ให้กรองด้วยผ้าขาว บางก่อน 4. เอาน้ำเชื่อมนวดพร้อมกับแป้งที่นวดไว้จนเข้าเป็นเนื้อเดียว 5. เอาถ้วยตะไลวางเรียงในรังถึง เพื่อทำการนึ่งถ้วยตะไลที่ยัง ไม่ได้หยอดขนมด้วยไฟค่อนข้างแรง เพื่อให้ถ้วยตะไลร้อน จัดมาก ๆ (ประมาณ 15 นาที) 6. ตักเนื้อขนมหยอดลงไปในถ้วยตะไลจนเต็มถ้วย 7. นำขึ้นนึ่งอีก 15 นาที เมื่อขนมสุก บริเวณผิวหน้าขนมจะมีรอยบุ๋มลง เคล็ดลับ การ ที่เอาถ้วยตะไลนึ่งไฟแรง ๆ ก่อน ก็เพื่อให้ตัวขนมไม่ติดกับถ้วย ตะไล สามารถแคะออกได้สะดวก   มะลิที่ใช้ลอย ต้องมั่นใจว่าไม่มี ยาฆ่าแมลงปะปน มิฉะนั้นจะตายหมู่กันทั้งคนกินและคนทำ
    ขนมไข่หงส์
    เครื่องปรุง ตัวเปลือก เผือกนึ่งสุกยีละเอียด 1/2 ถ้วยตวง แป้งข้าวเหนียว 1/2 ถ้วยตวง แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วยตวง น้ำกะทิคั้นข้น 1/4 ถ้วยตวง น้ำมันสำหรับทอด ไส้ขนม ถั่วเขียวซีกนึ่งสุกบดละเอียด 2 ถ้วยตวง รากผักชี กระเทียม พริกไทยโขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ หอมแดงเจียวเหลือง 1/4 ถ้วยตวง เกลือ น้ำตาล สำหรับปรุงรส น้ำมันสำหรับผัด น้ำสำหรับเคลือบ น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง วิธีทำ 1. นวดเผือก แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิเข้าด้วยกันจนนุ่มมือ อย่าให้เปียกหรือแห้งมากเกินไป ถ้าเปียกเวลาปั้นให้แตะแป้งแห้งเป็นนวล 2. กระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน 1-2 ช้อนโต๊ะ นำรากผักชี กระเทียม พริกไทยโขลกลงผัดจนหอม ใส่ถั่วบดลงผัด ปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือ และพริกไทยป่น ชิมให้รสจัด ใส่หอมเจียวผัดให้แห้ง ปั้นได้ ทิ้งไว้พออุ่น ปั้นเป็นลูกกลมประมาณหัวนิ้วมือ พักไว้ 3. นำแป้งที่นวดไว้มาแผ่เป็นแผ่นกลมหุ้มไส้ถั่วที่ปั้นไว้ให้มิด คลึงเบาๆให้กลม นำไปทอดให้เหลือง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ทิ้งไว้ให้เย็น 4. กระทะที่ทอดขนมไว้ เทน้ำมันออก ตั้งไฟ ใส่น้ำตาลลงไป เติมน้ำเล็กน้อย ใช้ไฟอ่อน ผัดสักครู่จนน้ำตาลละลายหมดและเหนียว นำขนมที่ทอดสุกแล้วลงผัดให้น้ำตาลจับกับขนม ตักขึ้นทิ้งไว้ให้เย็น น้ำตาลจะตกผลึกจับกับขนม
    วุ้นกะทิ
    ส่วนผสม วุ้นชนิดเส้นแช่น้ำจนนิ่ม 3 ถ้วยตวง น้ำเปล่า 5-6 ถ้วยตวง น้ำเชื่อมข้นๆ 11/2 ถ้วยตวง (ใช้น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวงต่อน้ำ 1/2 ถ้วยตวง) กะทิคั้นข้นๆ 11/2 ถ้วยตวง เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ สีใส่อาหาร หรือน้ำใบเตย พิมพ์วุ้น หรือกระทงเล็กๆ ประมาณ 70 กระทง
    วิธีทำ 1. นำวุ้นที่แช่น้ำไว้ต้มกับน้ำเปล่าทั้งหมด(ใช้น้ำ 5 ถ้วยตวง)ต้มจนวุ้นละลายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ใส่น้ำใบเตยหรือสีและน้ำเชื่อมลงไป ส่วนที่สองใส่กะทิและเกลือ 2. นำวุ้นเส้นที่หนึ่งไปตั้งไฟเคี่ยวสักครู่เทใส่พิมพ์หรือถ้วยประมาณครึ่ง พิมพ์ทิ้งไว้สักครู่ให้หน้าตึงอย่าถึงกับวุ้นแข็งเพราะจะทำให้หน้าและตัวไม่ ติดกัน 3. นำส่วนผสมที่สองตั้งไฟคอยคนพอเดือดเทลงบนวุ้นที่เทไว้ ทิ้งไว้จนแข็งตัวนำเข้าตู้เย็น
    หมายเหตุ จะ ใช้วุ้นผสมก็ได้โดยใช้วุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะแทนวุ้นชนิดเส้นแช่น้ำ 1 ถ้วยตวง มะพร้าวที่นำมาคั้นกะทิควรเป็นมะพร้าวทึนทึกที่ใหม่สดคั้นด้วยน้ำมะพร้าว น้ำหอมด้วยยิ่งดี จะทำให้วุ้นอร่อยมากขึ้น การทำอาจจะทำเป็นชั้นๆ สลับกันก็ได้ตามชอบ
    ขนมครก เครื่องปรุงตัวแป้ง 1.แป้งข้าวเจ้า (แห้ง)       1  ถ้วยตวง 2.น้ำ                              2  ถ้วยตวง 3. ข้าวสุก                       1/3 ถ้วยตวง 4. มะพร้าวทึนทึกขูดขาว1/2 ถ้วยตวง 5. เกลือป่น                      1/2 ช้อนชา 6.น้ำร้อน                         1/2 ช้อนโต๊ะ
    เครื่องปรุง หน้ากะทิ 1.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง 2. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง 3. เกลือป่น 1 1/2 ช้อนชา
    เครื่องใช้เฉพาะ เตาขนมครก ลูกประคบ (กากมะพร้าวห่อ ด้วยผ้า ขาว โดยใช้ผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 6x6 นิ้ว ) วิธีทำ 1.ใส่กากมะพร้าวตรงกลางรวบ ชายผ้าเข้า มาทุกด้าน 2. ผูกเชือกให้กาก มะพร้าวรวมตัว เป็นก้อนกลมแผ่น ทิ้งชายไว้สำหรับจับช้อน สำหรับแคะขนมครก น้ำมัน สำหรับทาเบ้าขนมครก 3. ตวงแป้ง 1 ถ้วยตวงใส่ชามผสม เติมน้ำ 1 ถ้วยตวง คนให้เข้ากัน แล้วแช่ไว้ 12 ชั่วโมง หรือค้างคืน 4. บดข้าวสุก 1/3 ถ้วยตวง มะพร้าวขูด ถ้วยตวง พร้อมน้ำอีก 1 ถ้วยตวง 5. ใส่เบลนเดอร์จนละเอียดดี หรือโม่ด้วยโม่หินก็ได้ 6. เทมะพร้าวและข้าวสุกที่บดแล้วลงในชามแป้งที่แช่ไว้ เติมเกลือป่น  คนให้เข้ากันดี ใช้เป็นตัวแป้งขนมครก 7. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือด้วยกัน คนให้น้ำตาลละลายตั้งเตาขนมครกบนไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนจัด จึงใช้ลูกประคบ แตะน้ำมันพืชเช็ดเบ้าขนมครกทุกเบ้าให้ชุ่มน้ำมัน ตักแป้งหยอดลงในเบ้าประมาณค่อนเบ้า รอสักครู่จึงหยอดหน้ากะทิลงประมาณ 1/2 ช้อนโต๊ะ ปิดฝารอจนขอบแป้งเกรียมเหลือง จึงใช้ช้อนแซะขึ้นใส่ถาด
    สับปะรดกวนหยี
    เครื่องปรุง สับปะรดสับฝอยละเอียด 2 ถ้วยตวง น้ำเย็น 1/4 ถ้วยตวง น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง เกลือป่น 1/2 ช้อนชา ส่วนสำหรับคลุก น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง เกลือป่น 1 ช้อนชา พริกขี้หนูแดง 4-5 เม็ด วิธีทำ 1. ใส่สับปะรดและน้ำลงในหม้อเคลือบ ตั้งไฟประมาณ 10 นาที ใช้ไฟกลาง 2. ใส่น้ำตาล เกลือ คนตลอดเวลา พอน้ำงวดลดไฟลง ใช้ไฟอ่อนกวนจนส่วนผสมข้นเข้ากันดีเป็นเส้น 3. แกนสับปะรดเกลาเป็นแท่งกลมเล็ก นำไปเชื่อมให้สุก ตักขึ้นหั่นเป็นอันเล็กๆ สำหรับทำเป็นก้านสับปะรด 4. นำสับปะรดที่กวนได้ที่แล้วมาปั้นลงบนแกนที่เตรียมไว้ ทำเป็นลูกเล็กๆ ให้สวยงาม 5. โขลกพริกขี้หนูกับเกลือให้ละเอียด ใส่น้ำตาลลงโขลกพอเข้ากัน นำสับปะรดที่ปั้นไว้มาคลุกกับส่วนผสมที่โขลกไว้ จะได้สับปะรดกวนที่มีรสชาติอร่อย และรูปร่างน่ารับประทาน
    ขนมลูกชุบ
    เครื่องปรุง ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง สีผสมอาหารสีต่างๆ ส่วนที่ชุบ วุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง       วิธีทำ 1. ผสมถั่วบด น้ำตาลทราย กะทิ เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ 2. กวนด้วยไฟอ่อนๆจนล่อนจับกันไม่ติดกระทะ 3. พักถั่วกวนไว้ให้เย็น นำมาปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆตามต้องการ เสียบไม้ไว้ 4. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงบนขนมที่ปั้น โดยระบายเลียนแบบของจริง ทิ้งไว้ให้แห้งจึงนำไปชุบวุ้น 5. ผสมวุ้นกับน้ำยกขึ้นตั้งไฟให้ละลายก่อนจึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยววุ้นจนข้น 6. เอาขนมที่ปั้นแล้วเสียบไม้ลงชุบวุ้นครั้งเดียวให้ทั่ว ทิ้งไว้จนแห้งแล้วชุบอีก ทำเช่นนี้ประมาณ 3- 4 ครั้ง จะชุบแต่ละครั้งต้องให้เย็น วุ้นแข็งตัวก่อนทุกครั้ง 7. เมื่อวุ้นแข็งจึงเอาไม้เสียบออก ตกแต่งด้วยก้านและใบให้สวยงาม
    ขนมหน้านวลหรือขนมทองโปร่ง
    เครื่องปรุง ไข่แดงไข่ไก่ 1 ถ้วยตวง แป้งสาลีร่อนแล้วตวง 1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทรายป่นละเอียด 2 ถ้วยตวง วานิลลา 1 ถ้วยตวง วิธีทำ 1. ตีไข่แดงให้ขึ้นฟู ค่อยๆ ใส่น้ำตาลทีละน้อยจนหมด ตีให้ข้นเป็นสีนวลขาว 2. ใส่แป้ง วานิลลา ตล่อมเบาๆให้เข้ากัน 3. พิมพ์รูปเรือ ทาด้วยน้ำมันหรือเนยขาวให้ทั่ว อบพิมพ์ให้ร้อนจัดประมาณ 3 นาที ตักส่วนผสมหยอดลงพิมพ์ประมาณ 3/4 ของพิมพ์ อบไฟ 375 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 15-20 นาที พอขนมหน้าตึงเป็นสีนวลนำออกจากเตา พักขนมให้เย็น แคะออกจากพิมพ์ ลักษณะขนมที่ดี หน้าจะเป็นสีนวล หน้าจะไม่โปร่งหรือแตก ข้างในเรียบกลวง มีน้ำเยิ้มเล็กน้อย
    ตะโก้แก้ว
    เครื่องปรุง แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวง น้ำลอยดอกไม้ 4 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง น้ำใบเตยคั้น 1/4 ถ้วยตวง หน้าขนม กะทิ 3 ถ้วยตวง แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง เกลือป่น 1 ช้อนชา กระทงใบเตย แห้วต้มหั่นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก 1/4 ถ้วยตวง วิธีทำ 1. ตัวขนม ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทราย ตั้งไฟพอละลาย ยกลงกรองทิ้งไว้ให้เย็น 2. ผสมแป้งถั่วเขียว น้ำเชื่อมจากข้อ 1 น้ำใบเตย คนให้เข้ากัน ตั้งไฟกวนจนสุกใส ใส่แห้วคนให้เข้ากัน 3. ตักตัวขนมใส่ในกระทงประมาณ 3/4 ของกระทง 4. ผสมกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือป่น เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟกวนจนข้น แป้งสุกตักหยอดลงในกระทงที่มีตัวขนมจนเต็ม ทิ้งไว้ให้เย็นใช้ได้
    ขนมเห็ดโคน
    เครื่องปรุง 
    ส่วนผสม ไข่ขาว (ไข่ไก่) 1/2 ถ้วยตวง แป้งเท้ายายม่อม 1/2 ถ้วยตวง น้ำตาลทรายป่น 2 1/2 ถ้วยตวง น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ผงโกโก้ 1/4 ถ้วยตวง
    วิธีทำ 1. ตีไข่ขาวให้ขึ้นฟูแข็งจึงใส่น้ำมะนาว ใส่น้ำตาลทีละน้อย ตีน้ำตาลละลายหมด ไข่ขาวตั้งยอด  2. แบ่งไข่ขาวออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ผสมกับแป้งเท้ายายม่อม (ที่บดละเอียดแล้วร่อนจึงตวง) ให้เข้ากัน ตักใส่กรวยกระดาษ บีบลงในถาดที่ปูด้วยกระดาษไขไว้ แล้วทาน้ำมันบางๆ บีบให้เหมือนก้านเห็ด อบด้วยไฟอ่อนๆ จนสุกแข็ง 3. อีกส่วนตักใส่กรวยกระดาษ บีบลงในถาดที่ปูด้วยกระดาษไข และทาน้ำมันบางๆ ให้มีรูปเหมือนดอกเห็ด เอาผงโกโก้ใส่กระชอนเล็กๆ ร่อนบนดอกเห็ดบางๆ นำไปอบไฟอ่อนๆจนขนมสุกแข็ง แกะออกจากถาด 4. นำดอกและก้านมาต่อกันด้วยขนมดิบ นำไปอบอีกครั้ง พอส่วนที่ติดสุก ทิ้งไว้ให้เย็น นำไปอบควันเทียน
    กล้วยบวชชีน้ำกะทิ
    **ควรใช้กล้วยสุก แต่อย่าต้มนานจนเนื้อเละนะคะ ส่วนผสม
    เมล็ดงา
    2 ช้อนโต๊ะ
    กล้วย
    4 ผล
    น้ำกะทิ
    500 มล.
    น้ำตาล
    4 ช้อนโต๊ะ
    เกลือ
    1/8 ช้อนชา
    วิธีทำ 1. คั่วเมล็ดงาในกระทะ โดยไม่ต้องใส่น้ำมัน ใช้ไฟกลาง คั่วประมาณ 4-5 นาที จนเมล็ดงาออกสีเหลืองทอง 2. ปอกเปลือกกล้วยและหั่นเป็น 4 แฉก 3. นำกล้วย น้ำกะทิ และเกลือใส่หม้อเล็ก เอาขึ้นตั้งไฟกลาง ต้มให้ระอุประมาณ 8 นาที หรือจนเนื้อกล้วยดูนุ่ม 4. ตักแบ่งกล้วยและน้ำกะทิใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยเมล็ดงาและเสิร์ฟร้อนๆ แนะนำ :หากต้องการกล้วยเชื่อมที่ลงตัวมากขึ้น แช่สาคูในน้ำเย็นให้พอตัวประมาณ 15 นาที จากนั้นเอาลงหม้อต้มพร้อมกล้วยในขึ้นตอนที่ 3
    ขนมลูกชุบ
    เครื่องปรุง
    ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
    หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง
    สีผสมอาหารสีต่างๆ

    ส่วนที่ชุบ
    วุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
    น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง
    น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
       
    วิธีทำ
    1. ผสมถั่วบด น้ำตาลทราย กะทิ เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ
    2. กวนด้วยไฟอ่อนๆจนล่อนจับกันไม่ติดกระทะ
    3. พักถั่วกวนไว้ให้เย็น นำมาปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆตามต้องการ เสียบไม้ไว้
    4. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงบนขนมที่ปั้น โดยระบายเลียนแบบของจริง ทิ้งไว้ให้แห้งจึงนำไปชุบวุ้น
    5. ผสมวุ้นกับน้ำยกขึ้นตั้งไฟให้ละลายก่อนจึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยววุ้นจนข้น
    6. เอาขนมที่ปั้นแล้วเสียบไม้ลงชุบวุ้นครั้งเดียวให้ทั่ว ทิ้งไว้จนแห้งแล้วชุบอีก ทำเช่นนี้ประมาณ 3- 4 ครั้ง จะชุบแต่ละครั้งต้องให้เย็น วุ้นแข็งตัวก่อนทุกครั้ง
    7. เมื่อวุ้นแข็งจึงเอาไม้เสียบออก ตกแต่งด้วยก้านและใบให้สวยงาม
    สาคูเปียกลูกแปะก้วย
    ส่วนผสม สาคูเม็ดเล็ก 1 ถ้วยตวง ลูกแปะก๊วยต้มพอสุก 1/2 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง วิธีทำ 1. นำสาคูไปเลือกเอาผงออก สงให้สะเด็ดน้ำ แล้วพักไว้ 2. ต้มแปะก๊วยให้พอสุกนิ่ม พักไว้ 3. ผสมน้ำตาลทราย กับน้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง ตั้งไฟให้เดือด ยกลงกรอง ยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยวสักครู่ ใส่แปะก๊วย พอเดือดสักครู่ ยกลง 4. ต้มน้ำเปล่าที่เหลืออีก 2 ถ้วยตวง จนเดือด เทสาคูลง คนให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่ จนสาคูสุกและใส 5. ใส่แปะก๊วยที่เชื่อมไว้ ลงไปพร้อมน้ำเชื่อม คนให้เข้ากัน 6. ถ้าไม่หวานพอให้ใช้น้ำตาล ทำเป็นน้ำเชื่อมเติม ถ้าสาคูข้นขึ้น ให้เติมน้ำร้อนลงไป เพราะเวลาที่สาคูเย็น จะแห้งและข้นขึ้น
    ทับทิมกรอบ
    ส่วนผสม
    แห้วต้มหั่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือมันแกว
    1 ถ้วย
    แป้งมัน
    1/2 ถ้วย
    น้ำตาลทราย
    150 กรัม
    น้ำทำน้ำเชื่อม
    3/4 ถ้วย
    มะพร้าวขาว
    250 กรัม
    น้ำแข็ง

    สีขนมสีแดง หรือสีอื่นๆตามชอบ

    วิธีทำ 1. ละลายสีแดงกับน้ำเล็กน้อย แช่แห้วพอติดสี ตักขึ้นคลุกแป้งให้ติดมากๆ ใส่กระชอนร่อนให้แป้งร่วน
2. ต้มน้ำ 5 ถ้วยให้เดือด ลวกเม็ดทับทิม พอลอย 3 นาที ตักขึ้นใส่น้ำเย็น ตักใส่ผ้าขาวบางไว้
    3. คั้นมะพร้าวใส่น้ำ 1/4 ถ้วย คั้นให้ได้ 3/4 ถ้วย 4. ผสมน้ำเชื่อมกับกะทิ เวลารับประทานให้ตักเม็ดทับทิมใส่ถ้วย ใส่น้ำแข็ง